สำหรับบริษัท
7 วิธี บ๊ายบาย ออฟฟิศ ซินโดรม

7 วิธี บ๊ายบาย ออฟฟิศ ซินโดรม

14 กันยายน 2565

7 วิธี บ๊ายบาย ออฟฟิศ ซินโดรม

14 กันยายน 2565

     รู้มั้ยว่า..แค่การนั่งทำงานในออฟฟิศ เป็นเวลานานๆ สามารถเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายได้ รวมถึงการเล่นโทรศัพท์มือถือ และ ใช้แท็บเล็ต เมื่อเรายิ่งใช้เวลามาก แต่อยู่กับท่าทางที่ไม่ถูกต้อง  บางท่าอาจทำให้เกิดการโค้งงอผิดรูปของกระดูก เช่น ไหล่ตก ตัวเอียง หลังค่อม และ ทำให้เกิดอาการตึง ยึดปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดจากการทำงานแบบนี้เรียกว่า “ออฟฟิศ ซินโดรม” (office syndrome) ซึ่งถ้าไม่บำบัดรักษา หรือป้องกันตั้งแต่ต้น ก็อาจการกลายเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพในภายหลังได้
ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า อาการที่เป็นสัญญาณเตือนและพบบ่อย คือ

     1) ปวดหลังเรื้อรังจากการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมง การนั่งหลังค่อม ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก เมื่อย เกร็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบังลมขยายได้ไม่เต็มที่ สมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ทำให้ง่วงนอน ศักยภาพในการทำงานไม่เต็มร้อย 

     2) ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ แสงแดด ความร้อน และการขาดฮอร์โมนบางชนิด เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน 

     3) มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็น นิ้วมือพบมากขึ้น เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ การจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้

หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาการจะรุนแรงจนถึงขั้นหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทได้  

วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมในขณะทำงาน คือ 
1) ปรับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะให้เหมาะสม นั่งสบาย 
2) หากใช้คอมพิวเตอร์ กึ่งกลางของจอควรอยู่ในระดับสายตา การพิมพ์งานแป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอก ข้อมือ ใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่ 
3) ขณะนั่งทำงาน ควรนั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้ กระพริบตาบ่อยๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง 
4) ปลูกต้นไม้ในร่ม ช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตา
5) รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และครบ 5 หมู่ 
6) ควรเปิดหน้าต่างสำนักงาน เพื่อให้อากาศถ่ายเทบ้าง 
7) ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ที่มา : กรมอนามัย 

TAGS : บทความผู้หางาน , สุขภาพ , ออฟฟิศซินโดรม

บทความที่ได้รับความนิยม
งานที่น่าสนใจ